วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ค้นพบชั้นใต้ดินดาวอังคารรองรับจุลชีพได้


        นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียเผย พื้นที่ในชั้นใต้ดินส่วนใหญ่ของดาวอังคารรองรับสิ่งมีชีวิตประเภทจุลชีพได้ หลังศึกษาวิจัยด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเปรียบเทียบกับระบบนิเวศน์โลก

          ชาร์ลีย์ ไลน์วีฟเวอร์ และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย จัดทำการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบอุณหภูมิและแรงกดอากาศบนโลกกับดาวอังคาร เพื่อชี้วัดความแตกต่างและความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคาร ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยาสาร "Astrobiology" ในวันจันทร์
          หลังจากที่มีการค้นพบน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกของดาวอังคาร งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาว่า บริเวณใดของดาวอังคารที่สามารถรักษาปริมาณน้ำได้มากพอ จนเอื้อต่อการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตประเภทจุลชีพคล้ายคลึงกับที่พบบนโลก โดยนำเอาข้อมูลที่เคยมีการเก็บมาทั้งหมดในระยะเวลากว่า 10 ปีมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกัน แตกต่างจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่นิยมศึกษาเป็นพื้นที่ ๆ ไป

          รายงานชี้ว่า หากเปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ โดยนับตั้งแต่แกนกลางของโลกไปจนถึงชั้นบรรยากาศส่วนบน โลกมีพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพียง 1% เท่านั้น ในขณะที่ดาวอังคารมีพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ถึง 3% เพียงแต่ส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่ชั้นใต้ดิน

          ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารที่มีความกดดันต่ำ ทำให้น้ำไม่สามารถรักษาสถานะของเหลวบนผิวดาวและระเหยในทันที ทว่า ไลน์วีฟเวอร์กล่าวว่า ชั้นใต้ผิวดินของดาวอังคารมีแรงกดดันที่เพียงพอต่อการคงสถานะของเหลวของน้ำเอาไว้

          นอกจากนี้ แม้อุณหภูมิพื้นผิวดาวอังคารจะอยู่ที่ -63 องศาเซลเซียส แต่ใต้ผิวดินมีความอบอุ่นเพียงพอต่อการอาศัยอยู่ของจุลชีพ เนื่องจากได้รับความร้อนที่แผ่กระจายมาจากแกนกลางของดาว



          ไลน์วีฟเวอร์ยืนยันว่า งานวิจัยของเขาเป็นการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารที่ละเอียดที่สุดในปัจจุบัน และนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะมนุษย์ก็วิวัฒนาการมาจากจุลชีพเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์แห่ง Swatch

         
ประวัติศาสตร์แห่ง Swatch




 Swatch ฝ่าฝันวิกฤติและนำพาอุตสาหกรรมนาฬิกาของสวิสเซอร์แลนด์ให้อยู่รอด 
ในกลางยุค 70 อุตสาหกรรมนาฬิกาของสวิสเซอร์แลนด์ ได้ประสบวิกฤติอย่างรุนแรงอย่างที่เคยไม่มีมาก่อน กล่าวทางเทคโนโลยีคือ ญี่ปุ่นได้เข้ามาอยู่เหนือกว่าในการแข่งขันทางการค้า ในปี 1979 เมื่อได้ญี่ปุ่นได้ออก "Delirium," นาฬิกาข้อมือบางที่สุดในโลกด้วยชิ้นส่วนที่น้อยลง แต่เหตุการณ์ที่ปรับโชคชะตาของอุตสาหกรรมกลับสู่สภาวะที่ดีขึ้น นั่นคือ การก่อตั้ง SMH บริษัทสวิสเพื่ออุตสาหกรรมไมโครอิเล็กโทรนิกส์ และการผลิตนาฬิกา และคำตอบของการแก้วิกฤติ คือนาฬิกา Swatch นาฬิกาพลาสติกแบบบาง ประกอบด้วยชิ้นส่วนเพียง 51 ชิ้น (แทนที่ชิ้นส่วนปกติ 91 ชิ้น หรือมากกว่า) ที่ให้ทั้งคุณภาพสูงพร้อมกับราคาอันย่อมเยา เริ่มออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 1983 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้กลายเป็นนาฬิกาข้อมือที่ประสบความสำเร็จตลอดกาล และบริษัทแม่ The Swatch Group ถือเป็นบริษัทนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และไม่เคยหยุดนิ่ง

                  เป็นระยะเวลาหลายปีแล้วที่วิวัฒนาการนาฬิกาใหม่ๆ ได้เข้ามามีบทบาทพร้อมไปกับนาฬิกา Swatch พลาสติกรุ่นมาตรฐาน ตั้งแต่ Irony (Swatch รุ่นที่เป็นโลหะ) ไปจนถึงถึง Swatch SKIN Chrono (นาฬิกาแบบโครโนกราฟที่บางที่สุดในโลก) ไปจนกระทั่ง Swatch Snowpass (นาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานข้างใน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นบัตรผ่านเข้าเล่นสกีได้ในหลายรีสอร์ททั่วโลก) และ Swatch Beat (นาฬิกาที่แสดงเวลาอินเทอร์เน็ต)
ความสามารถทางเทคนิคที่โดดเด่นและก้าวล้ำในสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจาก Swatch ในฐานะผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และการแข่งขันสกีและสโนว์บอร์ดระดับโลก