วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

         
  เงาะ โรงเรียนหรือเงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน เงาะในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ก็ไม่มีประเทศใดที่มีเงาะคุณภาพดีเท่ากับเงาะพันธุ์โรงเรียน แม้แต่ในมาเลเซียซึ่งเราได้เมล็ดเงาะพันธุ์นี้มา จึงกล่าวได้ว่าเงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกเท่าที่มี อยู่ในขณะนี้

คำว่า "โรงเรียน" หมายถึง โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เงาะ ต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อปี พ.ศ.2469 โดยชาวจีนผู้หนึ่งมีสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ Mr. K. Wong มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองปีนัง บุคคลผู้นี้ได้เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร ตรงกันข้ามกับโรงเรียนนาสาร เมื่อ Mr. K. Wong มาทำเหมืองแร่ก็ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก ใกล้กับสถานีรถไฟนาสารเป็นเนื้อที่ 18 ไร่ แล้วสร้างบ้านพักบนที่ดินดังกล่าว เมื่อสร้างบ้านเสร็จ Mr. K. Wong ก็นำพันธุ์(เมล็ด)เงาะมาจากเมืองปีนัง(ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนึงไม่ มีแล้ว) มาปลูกข้างบ้านพักจำนวน 4 ต้น ต่อมาปรากฏว่าเงาะมีลูกเป็นสีเหลืองบ้าง แดงบ้าง รสเปรี้ยวบ้าง หวานบ้าง เฉพาะต้นที่ 2 นับจากทิศตะวันออกมีลักษณะพิเศษกว่าต้นอื่น คือ เนื้อสุกแล้วเปลือกผลเป็นสีแดง แต่แม้สุกจัดเท่าไหร่ก็ตาม ขนที่ผลยังมีสีเขียวอยู่ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบาง เงาะต้นนี้คือ "เงาะพันธุ์โรงเรียน"

สาเหตุที่เรียกว่าเงาะพันธุ์ โรงเรียน เพราะในปี พ.ศ.2479 Mr. K. Wong ต้องเลิกล้มกิจการเหมืองแร่และเดินทางกลับไปอยู่ที่เมืองปีนังภูมิลำเนาเดิม จึงขายที่ดินดังกล่าวพร้อมด้วยบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) แผนกธรรมการ อำเภอบ้านนา (อำเภอบ้านนาสาร) ทางราชการจึงปรับปรุงบ้านพักใช้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่วัดนาสารมาอยู่อาคารดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิการยน พ.ศ.2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนในขณะนั้นยังมิได้แพร่หลายแต่ประการใด เนื่องจากการส่งเสริมทางการเกษตรยังไม่ดีพอ ในปี พ.ศ.2489-2498 มีบุคคลตอนกิ่งไปขายพันธุ์เพียง 3-4 รายเท่านั้น

ครั้นถึงปี  พ.ศ.2500-2501 ได้มีกรรมวิธีแพร่พันธุ์เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือการทาบกิ่ง มีการทาบกิ่งเงาะต้นนี้ไปเป็นจำนวนมาก ในระยะเดียวกันนั้น เงาะที่มาจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส คือเงาะพันธุ์ยาวี เจ๊ะโมง เปเราะ ก็เข้ามาแพร่หลายพอสมควร ประชาชนเห็นว่าเงาะต้นนี้ยังไม่มีชื่อ จึงชักชวนกันเรียกเงาะต้นนี้ว่า "เงาะพันธุ์โรงเรียน" เพราะต้นแม่พันธุ์อยู่ที่โรงเรียนนาสาร

ปี  พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้นำชาวสวนเงาะผู้หนึ่งได้ทูลเกล้าฯถวายเงาะพันธุ์โรงเรียน และขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนดีอยู่แล้ว" นับแต่นั้นมา ไม่มีใครกล้าที่จะเปลี่ยนชื่อเงาะพันธุ์นี้อีกต่อไป

ชนิดของหนังสือเดินทางประเทศไทย

              ชนิดของหนังสือเดินทางประเทศไทย

หนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มจากบนซ้ายตามเข็มนาฬิกา ประเภทธรรมดา ทาง ราชการ ทางการทูต และเดินทางชั่วคราว

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้

หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)

ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)

หนังสือ เดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่าง ประเทศอนุมัติ

หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)

ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

หนังสือเดินทางพระ

ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น